วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สอบสวนเห็ดพิษ

























วันนี้ต้องตื่นแต่เช้า เพราะนัดกับพี่บุญทศ ประจำถิ่น เจ้าหน้าที่สอ.ดงเจริญ เพื่อที่ออกไปเก็บตัวอย่างเห็ดส่งตรวจ จากกรณีมีชาวบ้านกินเห็ดแล้วเสียชีวิต 1 ราย
หลังจากเตรียมอุปกรณ์พร้อมเราก็เข้าป่าหาเห็ดที่ได้มาจากการสอบสวนภรรยาผู้ตายบอกไว้ชื่อภาษาอีสาน คือ เห็ดผึ้งอีตู๋ ภาคกลางน่าจะเรียก เห็ดตับเต่า
ต้องขอขอบคุณ คุณอาณัติ ศรีเทา หัวหน้าสถานีอนามัยดงเจริญ
คุณพี่แขก จรรยา ดวงแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.ยโสธร และทีมงาน พี่แมน แสนภักดิ์ คุณปรีชา ลากวงษ์ คุณศรีไพร ที่ออกมาช่วยงานครั้งนี้ และดำเนินการส่งเห็ดไปตรวจ





แนวทางการเก็บตัวอย่างเห็ดพิษส่งตรวจ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค


  1. ควรเก็บจากแหล่งหรือพื้นที่เดียวกันกับที่ผู้ป่วยเก็บมารับประทาน

  2. เลือกเก็บดอกที่สมบูรณ์ ดอกยังไม่ช้ำและมีทั้งก้านดอกและราก

  3. ก่อนเก็บเห็ด ควรถ่ายภาพเห็ดไว้ เพื่อประกอบในการพิจารณา ชนิดของเห็ด โดยมีขั้นตอนดังนี้
    3.1 ถ่ายภาพแบบธรรมชาติ
    3.2 กวาดเศษขยะรอบฯ ต้นเห็ดออก แล้วถ่ายภาพด้านบนดอก ด้านใต้ดอก
    และด้านข้างดอก ทั้ง สี่ด้าน และควรมีสเกลบอกความกว้างความยาวของเห็ด แล้วจึงลงมือเก็บ โดยขุดให้ห่างจากลำต้นพอประมาณให้ได้รากด้วย หลังจากนั้นควรปักป้ายเตือนไม่ให้มีการเก็บเห็ดในบริเวณนั้นไปรับประทาน
  4. การนำส่งตรวจ เห็ดที่ส่งตรวจควรมีสภาพสมบูรณ์ มีดอก ลำต้นและราก และขณะนำส่งต้องรักษาสภาพของดอกไม่ให้ช้ำและเน่า โดยห่อดอกเห็ดด้วยกระดาษ ( การห่อด้วยกระดาษจะช่วยไม่ให้ภายในห่อมีความชื้น ซึ่งจะทำให้เห็ดเน่าเร็ว) ทำเป็นถุงหรือเย็บเป็นกระทงให้พอดีกับดอกเห็ด เพื่อไม่ให้ดอกเห็ดเคลื่อนไหว ป้องกันการช้ำ หลังจากนั้นใส่ลงถุงพลาสติก เป่าลมให้ถุงพลาสติกพองแล้วใช้หนังยางรัด และบรรจุ ในกล่องโฟมก่อนส่ง ถ้าส่งถึงห้องปฏิบัติการภายในวันเดียวกัน ไม่ต้องแช่เย็น ถ้าส่งเกิน 1 วัน ให้เก็บเห็ดไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 – 8 องศาเซลเซียล และควรรักษาความเย็นของเห็ดจนกว่าจะถึงปฏิบัติการ

  5. ส่งตัวอย่างพร้อมใบนำส่งตัวอย่าง ควรมีรายละเอียดบริเวณที่เก็บเห็ด ว่าเห็ดขึ้นในบริเวณใด เช่น บริเวณบ้าน, สนามหญ้า , ในป่าใกล้ต้นไม้ชนิดใด ใกล้จอมปลวกหรือบนชานอ้อย เป็นต้น พร้อมอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย เพื่อใช้ประกอบการตรวจยืนยัน ชนิดและพิษของเห็ด
  6. ส่งตัวอย่างมาที่สำนักระบาดวิทยาในวันและเวลาราชการ พร้อมแจ้งล่วงหน้าทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1779 เพื่อสำนักระบาดวิทยาจะได้ไปรับตัวอย่าง และส่งตัวอย่างไปตรวจที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    สถานที่ส่งตรวจ
    สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนงามวงศ์วาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 02-5798558, 02-5790147

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมาก ครับ อาจารย์แฟรงค์ พี่ แอบภูมิใจลึกๆ ที่ ได้เห็น การถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์เหล่านี้ ให้กับสาธารณชน พี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการทำงานที่มีความสุข คือ ทำอะไรก้ได้ ให้มีความุข จาก ภารกิจ และงานทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสุข จากการที่ได้ให้ แก่บุคคลอื่นๆ
    ให้อะไรก็ได้ วิธีการนี้ เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่แท้จริง เพราะเราได้ให้แก่ใครก้ได้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนโดยแท้จริง...

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณ ครับพี่
    ก็ได้พี่นั่นแหละเป็น Idol
    กำลังหัดรวบรวม เรียบเรียง ความคิด เพื่อเขียน blog แบบมือใหม่ครับ

    ตอบลบ