วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เริ่มสู่งานควบคุมโรคติดต่ออีกครั้ง Come back to Communicable disease control

เริ่มสู่งานควบคุมโรคติดต่ออีกครั้ง Come back to Communicable disease control

         
นำเสนอผลงานการควบคุมวัณโรคอำเภอคำเขื่อนแก้ว 
ต่อท่านอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย


          หลังจากห่างงานควบคุมโรคติดต่อ ไประยะหนึ่งประมาณเกือบปีเพราะไปรับงานแผนงาน ยุทธศาสตร์ และงานคุณภาพบริการ DHB DHS พชอ. รพ.สต.ติดดาว DHSPCA ถือว่าได้ประสบการณ์ และพัฒนาความคิดในเชิงระบบได่ในระดับหนึ่ง  แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาทำงานควบคุมโรคติดต่อร่วมด้วย งานเดิมยังเหลือ งานใหม่เพิ่มมา ทำยังงัยถึงจะทำงานสนุก และมีความสุข
          จะว่าไปแล้ว ไม่ว่านโยบายจะมารูปแบบไหน หากระบบงานเราเข้มแข็งเราย่อมไม่กลัว เหมือนนักกีฬาที่ร่างกายแข็งแกร่งให้เอาไปเล่นกีฬาประเภทไหนก็ย่อมเล่นได้ เพียงใช้เวลาเรียนรู้เล็กน้อย
          ว่าแล้วก็วาดฝันไว้ จะพัฒนาสำเร็จหรือไม่ กับการเรียนรู้บทเรียนต่อไป ตามนี้เลย 555





วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

เครื่องมือเยี่ยมบ้าน (IN-HOME-SSS)

เครื่องมือ (IN-HOME-SSS)
 เครื่องมือในการเยี่ยมบ้านของหมอครอบครัวประจำหมู่บ้าน(1 person 1 area)
กระบวนการเยี่ยมบ้าน
 1. ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน เป็นระยะของการวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์การเยี่ยม -เตรียมข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว โดยใช้แฟ้มอนามัยครอบครัว OPD Card หรือสรุปการเยี่ยมบ้านในครั้งก่อน -อุปกรณ์ กระเป๋าเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ควรเตรียมติดตัวไปเยี่ยมบ้าน ใบสั่งยา เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย เครื่องวัดความดันเลือด หูฟัง ชุดเครื่องมือตรวจหูและตา ปรอทวัดไข้ ไม้กดลิ้น สำลี แอลกอฮอล์ ชุดทำแผล ถุงมือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา แผ่นพับสุขศึกษา ถุงใส่ขยะ เป็นต้น. นอกจากนี้ กล้องถ่ายภาพอาจเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่ควรพกพาไป เพราะอาจใช้ถ่ายภาพเพื่อติดตามสภาพบาดแผล หรือถ่ายภาพนาทีประทับใจภายในบ้าน ซึ่งอาจใช้เป็นเครื่องมือเตือนความทรงจำให้ผู้ป่วยและญาติรวมทั้งกระชับความสัมพันธัดีต่อกันได้ในภายหลังอีกทั้งเป็นกำลังใจให้ทีมงานเยี่ยมบ้านในวาระต่อๆไป -ยานพาหนะ 
2.ระยะเยี่ยมบ้าน ในขณะเยี่ยมบ้านทีมงานต้องมีทักษะในการสื่อสาร เพื่อสร้างสัมพันธภาพค้นหาปัญหา รู้จักเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้ป่วยและครอบครัว ทักษะเหล่านี้ได้แก่
             2.1 การให้บริการด้านจิตวิทยาสังคม
             2.2 การใช้เครื่องมือทางด้านมนุษยวิทยา เช่น ชีวประวัติผู้ป่วย ผังเครือญาติ ถึงบ้านแล้วทำอะไรดี หลังจากทักทายตามอัธยาศัยแล้ว นอกเหนือจากพุ่งความสนใจไปที่ตัวผู้ป่วย ไม่ได้แต่ไปรักษาแต่โรค ดังนั้นต้องช่างสังเกตและประเมินทุกสิ่งที่พบที่บ้านนั้นๆ หลายคนมีทักษะส่วนตัว แต่หลายคนอาจต้องการแนวทาง ซึ่งมีผู้รวบรวมมาเป็นเครื่องมือ (IN-HOME-SSS) ดังหัวข้อดังต่อไปนี้
I Immobility ประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
                    1.กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น ลุกจากที่นอน อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ แต่งตัวเองได้ กินได้ ขับถ่ายสะดวก กลั้นได้หรือไม่
                    2.กิจวัตรอื่นๆ ที่ใช้แรงมากขึ้น เช่น ทำงานบ้าน จ่ายตลาด ทำอาหาร รับโทรศัพท์ จัดยากินเองได้ ล้างรถ ลี้ยงสุนัข เป็นต้น
N Nutrition  ประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการอย่างไร อาหารโปรด วิธีเตรียมอาหาร วิธีเก็บอาหารปริมาณที่กิน นิสัยการกิน ก่อนหรือหลังกินข้าวชอบสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหรือไม่ เป็นต้น.

H Housing ไม่ใช่ประเมินว่าดีหรือไม่ แต่ประเมินว่าสะภาพบ้านมีลักษณะอย่างไร
                    1.ภายในบ้าน เช่น แออัด โปร่งสบาย สะอาด ดูเป็นส่วนตัว มีรูปแขวนผนังเป็นใครบ้าง มีประกาศนียบัตรหรือโล่ยกย่องเกียรติคุณเรื่องใดบ้างของสมาชิกในบ้าน มีโทรทัศน์เครื่องดนตรี ห้องหนังสือ เลี้ยงสัตว์ภายในบ้านเป็นต้น.
                     2.รอบบ้าน เช่น มีบริเวณหรือไม่ รอบบ้านเป็นอย่างไร รั้วรอบขอบชิด หรือทะลุถึงกันกับเพื่อนบ้าน
                     3.เพื่อนบ้านเป็นใคร ลักษณะอย่างไร ความสัมพันธ์ กับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างไร

O Other people ประเมินว่าภาระบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร มีต่อผู้ป่วยอย่างไร ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะมีใครเป็นตัวแทนที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ การเยี่ยมบ้านมีข้อได้เปรียบในการพูดคุยเรื่องอนาคตของการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะยาว โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย บ้านเป็นสถานที่ที่แพทย์สามารถคุยกับผู้ป่วยและญาติได้สะดวกและอบอุ่นกว่าในโรงพยาบาล เพราะปราศจากสภาพกดดันที่ จะให้ผู้ป่วยและญาติออกจากโรงพยาบาล ทั้งยังเป็นการสาธิตให้ผู้ป่วยและญาติเห็นสภาพจริงว่าสามารถอยู่บ้านได้อย่างไรบ้างแม้ในนาทีสุดท้าย

M Medications ประเมินว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง กินอย่างไร มีวิธีการจัดยาแต่ละมื้ออย่างไรมียาอื่นอะไรอีกบ้างที่นอกเหนือจากแพทย์ประจำตัวสั่ง มียาสมุนไพร อาหารเสริม ยาหม้อ ยาพระและอะไรอื่นอีกบ้าง ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อห้าม แต่เพื่อให้รู้และประเมินพฤติกรรมการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยรายนั้นๆ

E Examination การตรวจร่างกายและการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำภารกิจประจำวันได้มากน้อยเพียงใดที่บ้าน จะทำให้เห็นสภาพความเจ็บป่วยที่แท้จริงของผู้ป่วยรายนั้นๆ S Safety ประเมินสภาพความปลอดภัยในบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติปรับสภาพภายในที่บ้านที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

S Spiritual health ประเมินความเชื่อ ค่านิยมของคนในบ้านจากศาสนวัตถุภายในบ้าน วารสารนิตยสารที่อ่านประจำหรือจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติโดยตรง

S Services ให้ญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยในขณะที่หมอไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเข้าใจบริการดูแลสุขภาพทั้งที่บ้านและโรงพยาบาลว่ามีอะไรบ้าง จะติดต่อได้อย่างไร เมื่อใดหรือมีบริการอื่นใดในละแวกบ้านที่ผู้ป่วยและญาติสามารถใช้บริการอื่นใดได้อีกบ้าง

****ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดระบบที่ยั่งยืน คือ การบันทึก เพื่อให้เกิดการดูแลที่ต่อเนื่องของสหวิชาชีพ
3.ระยะหลังการเยี่ยมบ้าน เป็นระยะหลังการเยี่ยมบ้านได้มาพูดคุยกันเพื่อสรุปปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวที่เยี่ยมแนวทางแก้ปํญหาหรือการติดตามเยี่มบ้านครั้งต่อไปและนำผลที่ได้มาบันทึกลงในรายงานหรือแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน เพื่อประกอบการดูแลต่อเนื่องต่อไป

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Forest Plot คือ อะไร


Forest Plot คือ อะไร




forest plot (or blobbogram[1]) is a graphical display designed to illustrate the relative strength of treatment effects in multiple quantitative scientific studies addressing the same question. It was developed for use in medical research as a means of graphically representing a meta-analysis of the results of randomized controlled trials. In the last twenty years, similar meta-analytical techniques have been applied in observational studies (e.g. environmental epidemiology) and forest plots are often used in presenting the results of such studies also.
Although forest plots can take several forms, they are commonly presented with two columns. The left-hand column lists the names of the studies (frequently randomized controlled trials or epidemiological studies), commonly in chronological order from the top downwards. The right-hand column is a plot of the measure of effect (e.g. an odds ratio) for each of these studies (often represented by a square) incorporating confidence intervals represented by horizontal lines. The graph may be plotted on a natural logarithmic scale when using odds ratios or other ratio-based effect measures, so that the confidence intervals are symmetrical about the means from each study and to ensure undue emphasis is not given to odds ratios greater than 1 when compared to those less than 1. The area of each square is proportional to the study's weight in the meta-analysis. The overall meta-analysed measure of effect is often represented on the plot as a dashed vertical line. This meta-analysed measure of effect is commonly plotted as a diamond, the lateral points of which indicate confidence intervals for this estimate.
A vertical line representing no effect is also plotted. If the confidence intervals for individual studies overlap with this line, it demonstrates that at the given level of confidence their effect sizes do not differ from no effect for the individual study. The same applies for the meta-analysed measure of effect: if the points of the diamond overlap the line of no effect the overall meta-analysed result cannot be said to differ from no effect at the given level of confidence.
Forest plots date back to at least the 1970s. One plot is shown in a 1985 book about meta-analysis.[2]:252 The first use in print of the word "forest plot" may be in an abstract for a poster at the Pittsburgh (USA) meeting of the Society for Clinical Trials in May 1996.[3] An informative investigation on the origin of the notion "forest plot" was published in 2001.[4] The name refers to the forest of lines produced. In September 1990, Richard Peto joked that the plot was named after a breast cancer researcher called Pat Forrest and as a result the name has sometimes been spelled "forrest plot".[4]

https://en.wikipedia.org/wiki/Forest_plot

การทำ Forest Plot โดย Excel

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิทาน สมภารผูกแมว

 ........ นานมาแล้วแต่ไม่รู้นานเท่าไหร่ มีเจ้าอาวาสวัดท่านหนึ่งมีจิตใจรักสัตว์ โดยเฉพาะแมว ท่านจึงหาแมวมาเลี้ยงไว้ เมื่อเวลาฉันอาหาร เจ้าแมวตัวน้อย ก็จะมาคลอเคลีย สร้างความลำบากใจให้กับพระลูกศิษย์ ที่รู้สึกรำคาญเจ้าแมวน้อย ท่านเจ้าอาวาสจึงหาเชือก มาล่ามแมวไว้ เมื่อแมวน้อยโตขึ้นจนแก่ตาย ท่านเจ้าอาวาสก็หาแมวตัวใหม่มาเลี้ยงไว้เรื่อยๆ และต้องผูกแมวเวลาฉันอาหาร หรือเวลาที่เทศนาสั่งสอนญาติโยมเพื่อป้องกันความรำคาญ จวบจนท่านเจ้าอาวาสมรณภาพไป มีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสท่านใหม่ที่ชอบเลี้ยงแมวเหมือนกัน จึงได้ทำปฏิบัติเช่นเดียวกัน ......จนเมื่อเมื่อเจ้าอาวาสท่านใหม่ ที่ไม่ชอบแมว ได้มาครองตำแหน่งที่วัดนี้ เมื่อได้รับรู้ว่าเจ้าอาวาสที่วัดนี้ผูกแมวเวลาเทศนาทุกคน ท่านจึงสั่งให้ลูกศิษย์ได้นำแมวมาผูกไว้ทุกครั้งที่ฉันข้าว หรือเทศนา .................เราเคยคิดมั้ยว่า.....การทำงานบางทีเราเป็นสมภารผูกแมวรึเปล่า ยึดถือการทำงานแบบเดิมๆโดยไม่ได้มีเหตุผล
  

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชื่นชมบริการด้วยหัวใจ ของความเป็นมนุษย์ของโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว seamless ,DHS ,PCA

             เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน ๒๕๕๗ มีชายอายุ ประมาณ ๗๕ ปี ได้สอบถาม ท่านวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ว่าได้ไปติดต่อที่ศูนย์นิคมโรคเรื้อน จ.อำนาจเจริญ ที่ศูนย์แจ้งว่าจะมีเงินช่วยเหลือคนที่เคยป่วย อยากได้ประวัติการรักษา หรือใบรับรอง เนื่องจากเคยรักษาเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีมาแล้ว
              คุณตาคนนี้ เป็นกังวลมาก เพราะคิดว่าโรงพยาบาลคงไม่มีประวัติแน่ๆ คนที่เคยรักษา หรือรู้จัก ก็เกษียณไปหมดแล้ว ครั้นจะไปตรวจใหม่โรคก็หายแล้ว เลยขอความช่วยเหลือที่กับท่านสาธารณสุขอำเภอ ผมในฐานะผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ ก็เลยถูกเรียกตัวให้เข้าไปหา
              คำว่า "บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์" ผมยังเชื่อเสมอว่า มีอยู่ทุกผู้คนในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว แต่คนแรกที่ผมนึกถึงคือ คุณมด สมใจ  เพียรทำ ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาล ทีมงาน SRRT ของเราทีใช้คำว่า "ทำงานแบบไร้รอยต่อ" กันได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
               ผมโทรหาคุณมดว่า จะพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ ที่ OPD ขอให้คุณมด มารับช่วงในการดูแลต่อไปด้วย เป็นไปตามที่ผมเชื่อไว้ คุณมดมารับที่ OPD โรงพยาบาล พยาบาลที่ OPD แจ้งว่า ถ้าใบรับรองแพทย์ ต้องมาช่วงบ่าย ผมมองหน้าคุณมด ได้แต่บอกว่า " รบกวนด้วยนะครับ" แล้วเดินกลับมาที่ สสอ.คำเขื่อนแก้ว คิดในใจ จะเป็นอย่างไรบ้างนะ แต่ลึกๆในใจ เชื่อนะว่า คงจะไปด้วยดี
                ติ้ง ต่อง เสียงข้อความจากเฟสบุ๊คดังขึ้น ในหนึ่งชั่วโมงต่อมา เป็นข้อความจากคุณมด ว่า "เรียบร้อยแล้วนะ คุณตาได้ใบรับรองแพทย์กลับบ้านแล้ว"
               เรื่องนี้ อาจจะเป็นเรื่อง ธรรมดาๆ แต่ สำหรับผมแล้วมันช่วยย้ำความเชื่อ และความประทับใจต่อโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว  ในการบริการต่อประชาชน

               
                  " ดาว มีอยู่บนท้องฟ้าเสมอ
                             .........แม้ว่า บางครั้งอาจจะมองไม่เห็นก็ตาม "




วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฟังเสียงหัวใจ หนังสือความเครียดเล่มแรก(เยี่ยมผู้ป่วยTB)


 เมื่อวันจันทร์ ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคตามคำเรียกร้อง ของน้องผู้รับผิดชอบงานวัณโรคที่ รพ.สต. บอกว่าผู้ป่วยมีปัญหา ไม่ยอมรับการรักษา โดยไม่เชื่อว่าตัวเองป่วยเป็นวัณโรค พอออกไปที่ รพ.สต.พร้อมกับพี่นิว ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคของโรงพยาบาล(TB Clinic) ได้รับข้อมูลจาก รพ.สต.ว่า "ผู้ป่วยไม่ได้ป้องกันตนเอง ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย ญาติพี่น้องผู้ป่วยก็ไม่ยอมรับว่าผู้ป่วย"  พี่TB Clinic บอกว่า "พี่ได้พูดมาเยอะแล้ว สำหรับคนไข้คนนี้ เธอพูดก็แล้วกัน"  ฟังความข้างเดียวคงกระไรอยู่  ในฐานะคนนำสาร จำจะต้องนำสารไปส่งผู้ป่วยอีกสักรอบ
         ออกจาก รพ.สต. พร้อมกับน้องๆ อีกสองคน ไปถึงบ้านผู้ป่วย ห่างจาก รพ.สต.ประมาณกิโลกว่าๆ  บริเวณบ้านดูสะอาดสะอ้าน ต่างจากบ้านผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่ ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง อายุประมาณ 55 ปี สภาพครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ มีอาชีพหลัก ทำนา สภาพผู้ป่วยดูแข็งแรง วันที่นั่งคุยก็มีแม่ผู้ป่วย อายุซัก 85 ปี ดูผิวพรรณดี และแข็งแรงเหมือนกัน
         เราเริ่มคุย โดยใช้รูปแบบการตกลงบริการแบบมีส่วนร่วม แต่ปรับใช้ เป็นการพูดคุยแบบมีส่วนร่วมโดยเนื้อหายึด หลักของ Health Believe Model  ส่วนการมีส่วนร่วมประยุกต์ใช้เทคนิค ORID Model ส่วนของรายละเอียดคงจะไม่พูดถึงนะครับ จากการพูดคุยถึงได้รับรู้ว่า.......หากเปรียบปัญหาความเครียดของผู้ป่วยเหมือนกองหนังสือที่ซ้อนกันอยู่ 
..... หนังสือเล่มสุดท้ายที่เราเห็นคือการปฏิเสธการรักษา การไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย 
..... ยังมีหนังสืออีกหลายเล่ม ที่วางซ้อนกันอยู่ 
....  หนังสือเล่มใหญ่ คือ ผู้ป่วยมีความเครียดเรื่อง ทำไมตัวเองไม่มีอาการของวัณโรคเลยแล้วถูกวินิจฉัยว่าป่วย 
.... หนังสืออีกเล่มหนึ่งคือ ทำไมผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรคแล้วอาการยิ่งแย่ลง อ่อนเพลีย จากเคยแข็งแรงกลับแย่กว่าเดิมอีก
.... หนังสือเล่มใหญ่หนาที่สุด คือ ผู้ป่วยเป็นคนอัธยาศัยดี มีเพื่อนบ้านมากมาย เคยขายเครื่องสำอาง เคยถูกชมว่าผิวดี ไปไหนมาไหนมีคนทักทายตลอด แต่การป่วยเป็นวัณโรคครั้งนี้ เขาได้สูญเสียสิ่งที่เคยภูมิใจ แม้แต่สามีก็ดูมีท่าทีเหมือนรังเกียจ เพื่อนบ้านหรือใครมาหาก็ต้องบอกให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัยก่อน ชีวิตของการป่วยด้วยวัณโรค มันน่ารังเกียจขนาดนี้เลยหรือ
       หากเปรียบความเครียดของผู้ป่วยเหมือนกองหนังสือที่ซ้อนกันอยู่ บางทีหนังสือเล่มบางๆที่เรามองเห็นว่าเล็กน้อย ไม่น่าจะสำคัญเลย อาจทำให้หนังสือทั้งกองพังลงมา เพราะเรามองเห็นหนังสือแค่เล่มสุดท้าย ที่เรามักพูดว่า "แค่เรื่องแค่นี้นะเหรอ"
     จากการพูดคุยแลกเปลี่ยน พอจะได้ช่วยอ่านหนังสือที่ซ้อนกันอยู่ หลายๆเล่ม และพอจะฉีกความหนาของหนังสือแต่ละเล่ม ให้เล่มบางลง  หวังว่าการได้คุยกันคงทำให้ผู้ป่วยได้มีกำลังใจต่อไป
......ก่อนกลับ ผู้ป่วยเอาข้าวสาร มาฝาก ว่าจะไม่รับแล้วหล่ะ แต่กลัวว่าจะทำให้ หังสือมันกลับหนาขึ้นมาอีกครับ เพราะว่าผู้ป่วย สำทับว่า"ถ้าไม่เอาถือวา่ารังเกียจกันนะหมอ" 5555